นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ รักษาได้อย่างไร

นิ่ว เป็นโรคที่พบบ่อยเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเกิดจากใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ “นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (Ureteric Stone)” นิ่วมีอยู่ด้วยกันสองประเภท คือ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งการรักษา สาเหตุ รวมไปถึงส่วนประกอบของนิ่งที่เกิดขึ้น ก็แตกต่างกัน วันนี้เราจะมาหาคำตอบเกี่ยวกับนิ่งในระบบทางเดินปัสสาวะกันว่า มีอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร และสาเหตุของการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดจาดอะไร หากพร้อมแล้วไปหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้ แต่ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่าระบบทางเดินปัสสาวะมีความสำคัญกับร่างกายเราอย่างไรบ้าง

ความสำคัญ

ระบบทางเดินปัสสาวะ มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย

ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นระบบที่มีความสำคัญมากต่อร่างกาย เนื่องจากหน้าที่หลักคือการขับของเสียและสารต่างๆ ที่เกินความต้องการของร่างกายออกไปในลักษณะของเหลว ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายของมนุษย์ และช่วยควบคุมความดัน ปริมาณ ค่าความเป็นกรด – เบส ของเลือด เรียกได้ว่าระบบทางเดินปัสสาวะเป็นเหมือระบบบำบัดน้ำเสียส่วนตัวของร่างกายเรา หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลกระบทบต่อร่างกายอย่างมาก

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ คืออะไร

โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (Ureteric Stone) คือ ตะกอนที่ตกค้างอยู่ในน้ำปัสสาวะ เนื่องจากปัสสาวะของเรามีแคลเซียม ฟอสเฟต ออกซาเลต ยูเรต ซึ่งการตกตะกอนของสารเหล่านี้อาจมาจากการดื่มน้ำน้อยกว่าที่ปริมาณร่างกายควรได้รับต่อวันเป็นประจำ หรือมีสารเหล่านี้เจือปนในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะมาจากอาหารที่ทานรวมถึงอาหารเสริม ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเอื้อให้เกิดการตกตะกอนของสารและกลายเป็นนิ่วในที่สุด นอกจากนี้ค่าความเป็นกรดเป็นเบสของปัสสาวะก็มีส่วนในการตกตะกอนของกรดยูริคด้วยเช่นกัน

อาการของ นิ่ว

อาการของ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่วที่เกิดขึ้น ว่านิ่วนั้นอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยแค่ไหน โดยแยกตามอาการ ได้ดังนี้

  • นิ่วที่อุดตันที่บริเวณ ท่อไตและกรวยไต (Ureteropelvic Junction (UPJ)) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวโดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณขาหนีบ
  • นิ่วอุดที่บริเวณท่อไต (Ureter) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างทันที และปวดอย่างรุนแรง ลักษณะจะปวดบิดเหมือนคลอดลูก ในบางกรณีมีอาการปวดที่เอวและปวดร้าวลงมาบริเวณอวัยวะเพศ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  • นิ่วอุดตันที่บริเวณ ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ (Ureterovesical Junction (UVJ)) ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย นิ่วที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ในบาง

กรณีจะไม่มีแสดงอาการ หรืออาจจะมีอาการปัสสาวะขัดเมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย จะทำการเคาะเบาๆบริเวณหลัง ซึ่งเมื่อเคาะแล้วอาจทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
การรักษานิ่วด้วยการใช้ยา

  • ยาที่ใช้รักษานิ่วที่เกิดจากเกลือแคลเซียม คือ ยาขับปัสสาวะได้แก่ Hydrochlorothiazide chlorothiazide (HCTZ) ซึ่งสามารถช่วยลดการขับแคลเซียม แต่ข้อจำกัดของการใช้ยานี้คือต้องให้โปแตสเซียมเสริมด้วย เนื่องจากยาขับปัสสาวะจะทำให้โปแตสเซียมในเลือดต่ำซึ่งส่งผลให้ Citrate ต่ำ อาจทำให้เกิดนิ่วได้ง่าย
  • Cellulose phosphate ยาตัวนี้จะทำหน้าที่จับกับแคลเซียมในลำไส้ ใช้ในกรณีที่ปัสสาวะมีแคลเซียมสูงและเกิดนิ่วซ้ำ
  • Potassium magnesium citrate ยาตัวนี้สามารถช่วยลดการเกิดนิ่วได้ร้อยละ 85% ข้อควรระวังคือยาจะเข้าไปเพิ่มโปแตสเซียม และควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย
  • ยาที่ใช้รักษานิ่วที่เกิดจาก Oxalates ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามิน B6 เช่นกล้วย ถั่วแตงโม ถั่วเหลือง ธัญพืชหรือรับประทานวิตามิน B6
  • Cholestyramine เป็นยาที่ใช้รักษาไขมันในเลือดสูงแต่สามารถนำมาใช้รักษานิ่วได้
  • ยาที่ใช้รักษานิ่วที่เกิดจากกรดยูริก เนื่องจากกรดยูริกจะตะกอนเป็นนิ่วในภาวะกรด ดังนั้นต้องได้รับด่าง Sodium bicarbonate แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ยาที่ลดกรดยูริกได้แก่ Allopurinol และยาที่ลดกรดยูริกในปัสสาวะได้แก่ Potassium citrate
  • ยาที่ใช้รักษานิ่ว Struvite Stones เป็นยาปฏิชีวนะใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งยาตัวนี้ต้องให้นาน 10-14 วัน
  • Acetohydroxamic Acid ยานี้จะลดการเกิดนิ่วแม้ว่าในปัสสาวะยังมีเชื้อแบคทีเรีย Aluminum Hydroxide Gel เพื่อจับกับ phosphate ในลำไส้
  • ยาที่ใช้รักษา Cystine Stonessodium bicarbonate เพื่อเพิ่มความเป็นด่างให้แกปัสสาวะ

คลื่นกระแทก

รักษานิ่วด้วยการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก หรือ การทำ Shockwave เพื่อสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy หรือ ESWL) เป็นการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำโดยผ่านชั้นผิวหนัง ซึ่งคลื่นกระแทกนี้จะทำหน้าที่เข้าไปสลายนิ่วให้แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้นิ่วหลุดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว แต่การรักษาด้วยวิธรนี้มีข้อจำกัดคือก้อนนิ่วต้องไม่มีขนาดใหญ่เกินไป และต้องไม่แข็งจนเกินไปด้วยเช่นกัน หากไม่สามารถรักษาด้วยการสลายนิ่วได้ ต้องทำการผ่าตัดกันต่อไป

ผ่าตัด

การรักษานิ่วด้วยวิธีการผ่าตัด

กรณีผ่าตัดรักษานิ่ว จะทำก็ต่อเมื่อ

  • ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะหลุดออกเอง
  • ก้อนนิ่วมีขนาดโตขึ้น
  • ก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
  • ก้อนนิ่วทำให้เกิดการติดเชื้อ
  1. ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำได้ด้วยกัน 3 เทคนิค คือ
    การผ่าตัดปิดช่องท้อง เป็นทางเลือกสำหรับกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดด้วยการส่องกล้องได้
  2. ผ่าตัดส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดที่สะดวก และแผลเล็กมากและระยะเวลาในการพักฟื้นก็เร็วกว่าผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องอีกด้วย
  3. การผ่าตัดส่องกล้องโดยระบบหุ่นยนต์ เป็นเทคนิคใหม่ที่แผลเล็ก และพักฟื้นเร็ว นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำสูง แต่สิ่งสำคัญในการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ คือ ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดเท่านั้น

การป้องกันการเกิดนิ่วด้วยตัวเอง

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 8 แก้ว หรือมากกว่านั้นตามน้ำหนักตัว
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหาร เช่น ผักโขม ผักป๊วยเล้ง ถั่วชนิดต่างๆ งา เนื่องจากมีสารออกซาเลตสูง
  • หลีกเลี่ยงไขมันที่ได้จากสัตว์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดการทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด

สรุป นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

ในปัจจุบันอาหารที่ทานกันมักแฝงไปด้วยโซเดียมไขมัน หรือพฤติกรรมการดื่มน้ำน้อย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เรียกได้ว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆของการเกิดโรคที่ระบบทางเดินปัสสาวะเลยก็ว่าได้ ทางที่ดีหากมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็น ให้รีบมาพบแพทย์เนื่องจากหากปล่อยไว้นาน การรักษาก็ยิ่งทำได้ยากขึ้น หากใครกังวลสามารถปรึกษาหมอเบียร์ได้ที่ Line ทางคลินิกของเรามีทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้ข้อมูลแก่ท่านตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อคลินิกโดยตรงเพื่อเข้ารับการปรึกษาได้เลย

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *