ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเตอร์โรน (TESTOSTERONE) เป็นฮอร์โมนที่มความสำคัญที่สุดของผู้ชาย หากฮอร์โมนนี้อยู่ใน ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism) จะส่งผลให้ร่างกายของเราเกิดความผิดปกติ เช่น มีความต้องการทางเพศลดลง การแข็งตัวของน้องชายไม่สมบูรณ์ ปริมาณอสุจิลดลง หน้าอกโตขึ้น เนื่องจากหน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเพศ คือ การทำให้มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความต้องการทางเพศ สร้างอสุจิ และช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อและกระดูก เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เราควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เพิ่ม คือ ฮอร์โมนเพศชายปริมาณปกติ ฮอร์โมนเพศต่ำเกิดจากอะไร ฮอร์โมนเพศต่ำมีอาการอย่างไร และสามารถรักษาได้อย่างไร เพื่อที่จรักษาได้อย่างทันท่วงที
ฮอร์โมนเพศชาย สร้างจากอะไร
ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน ถูกผลิตมาจากอัณฑะ (Testis) โดยจะอยู่ในถุงอัณฑะทั้งสองข้าง (Scrotum) นอกจากนี้อัณฑะมีอีกหน้าที่หนึ่ง คือการผลิตอสุจิ (Sperm) โดยกลไกของร่างกายจะมีการกระตุ้นให้มีการสร้างระดับฮอร์โมนเพศและอสุจิเพิ่มขึ้นในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งกลไกการสร้างฮอร์โมนเพศชาย มีดังนี้• การสร้างฮอร์โมนเริ่มจากการที่สมองส่วนหน้า ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ผลิต GnRH (Gonadotropin releasing hormone) มากขึ้นในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น
- ต่อมา GnRH จะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง LH (Lutieinzing hormone) และช่วยกระตุ้นการทำงานของ FSH (Follicle stimulating hormone)
- FSH จะมีหน้าที่ควบคุมการสร้างอสุจิ ส่วน LH จะมีหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์เลย์ดิก (Leydig Cell) ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ในอัณฑะของคุณผู้ชาย ให้สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ขึ้นมา
- หลังจากนั้น ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน โดยการชักนำของทั้ง FSH และ LH ที่อยู่บนเซลล์เลย์ดิก
ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เกิดจากอะไร
ปริมาณฮอร์โมนของเพศชาย หากมากเกินหรือน้อยเกินไป จนต่ำกว่าเกณค่าเฉลี่ย จนเกิด ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism) ซึ่งอาจส่งผลทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในที่สุด นอกจากอายุแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศชายเกิดการแปรปรวน ได้แก่
- อัณฑะได้รับบาดเจ็บ เช่น เกิดบาดแผลที่อัณฑะ เกิดภาวะอัณฑะบิดตัว (Testicular Torsion)
- ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ด้วย
- ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น
- ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต
- การติดเชื้อ HIV
- โรคตับอักเสบ
- ดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ
- มีความเครียดสะสม
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ และส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา รวมถึงส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางร่างกายได้
ฮอร์โมนเพศต่ำมีอาการอย่างไร
ผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำลง จะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ เป็นสาเหตุให้มีอาการเหล่านี้ คือ
- มีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย
- ทำให้พลังงานในร่างกายลดลง ไม่กระฉับกระเฉง
- มวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อลดลง
- ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
- รู้สึกไม่มีความกระตือรือร้น หรือมีอารมณ์หดหู่
- นอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ปวดกระดูกและบริเวณข้อต่อ และอาจเกิดโรคกระดูกพรุนร่วมด้วย
- ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ นกเขาไม่ขัน
ซึ่งที่กล่าวมาเป็นผลกระทบจากการที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำลง ในขณะที่หากมีฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นหรือสูงกว่าปกติ ก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายเช่นกัน โดยมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ช่วยให้ระดับความดันโลหิตของร่างกายทำงานได้ปกติ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และภาวะหัวใจขาดเลือด แต่ข้อเสียคือ อาจส่งผลทำให้มีความต้องการที่จะดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงทำให้มีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรงมากกว่าปกติ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นก่ออาชญากรรมได้เลย
ระดับฮอร์โมนเพศที่ปกติควรมีตัวเลขเท่าไหร่
ระดับฮอร์โมนเพศ ในระดับที่ปกติ ควรอยู่ระหว่าง 350 -1000 ng/dl (นาโนกรัมต่อเดซิลิลิตร) และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 679 ng/dl หากมีสุขภาพแข็งแรงระดับฮอร์โมนเพศชายจะอยู่ที่ 400 -600 ng/dl โดยฮอร์โมนสูงสุดในช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่เมื่ออายุมากขึ้นหลังจาก 40 ปีขึ้นไป กลไกของร่างกายจะค่อยๆผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนลดลง 1 – 2% ต่อปริมาณเดิมที่ร่างกายมีอยู่ ทำให้ลดการเกิดโอกาสภาวะแทรกซ้อนจากการขาดฮอร์โมนได้ค่อนข้างมาก แต่ในบางกรณีที่ ฮอร์โมนเพศต่ำ มากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Andropause) ได้ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำรักษาอย่างไร
การรักษาภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ สามารถรักษาโดยการใช้ยาเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เพื่อที่จะทดแทนฮอร์โมนที่ลดลง ซึ่งในปัจจุบันยาเพิ่มฮอร์โมนมีให้เราเลือกใช้รักษาได้หลายรูปแบบ เช่น แบบแผ่นแปะ ยาฉีด เจลหรือยาทา โดยคุณหมอจะพิจารณาก่อนว่าควรจะเลือกใช้ยาประเภทต่างๆกับผู้ป่วยตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
การรักษาด้วยการเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีข้อดีก็ คือ ฮอร์โมนนี้จะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น แล้วยังช่วยเร่งการเจริญเติบโตของอัณฑะ แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน คือ จะทำให้หน้าอกมีการขยายขึ้น และฮอร์โมนประเภทนี้ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งเต้านม การใช้ฮอร์โมนประเภทนี้ควรอยู่ใกล้กับคุณหมอที่เชี่ยวชาญหรือแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด ส่วนการที่ฮอร์โมนเพศชายที่ผิดปกตินั้นอาจจะเกิดจากโรคหรือความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย และคุณหมอจะรักษาตามสาเหตุต่อไป
การดูแลตัวเองเบื้องต้นในการรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศชาย
อย่างที่ทราบกันว่าฮอร์โมนเพศชาย จะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ค่อนข้างควบคุมได้ยาก แต่เราสามรถดูแลตัวเองให้ระดับฮอร์โมนอยู่ในปริมาณที่ดีต่อร่างกายได้ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต เช่น
- การพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับถือเป็นการให้ร่างกายเราได้พักจากการทำกิจกรรมมาทั้งวัน ซึ่งในระหว่างที่หลับ ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเอง และสมองเราก็หลั่งฮอร์โมนที่ดีให้แก่ร่างกายด้วยเช่นกัน
- การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เนื่องจากฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกิดจากความเครียด อาจไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศชายได้
- ทานอาหารที่มีสังกะสีและแมกนีเซียม เช่น ผักปวยเล๊ง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่งลิสง เป็นต้น เนื่องจากสังกะสีและแมกนีซียม เป็นสารอาหารที่ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย
- เลือกทานไขมันดีในมื้ออาหาร ซึ่งอาหารที่มันดี เช่น ปลาทะเลน้ำลึก อะโวคาโด เป็นต้น
- เลือกทานปลาให้มากขึ้น โดยเฉพาะปลาแซลมอน ทูน่า และแมคเคอเรล เพราะอุดมไปด้วยวิตามินดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตฮอร์โมนให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ลดการบริโภคน้ำตาล เนื่องจากน้ำตาลส่งผลทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงถึง 25% เลยทีเดียว
- หลีกเลี่ยงสารเคมี BPA เนื่องจากการสัมผัสสารเคมีชนิดนี้เป็นเวลานาน ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงกว่าปกติได้ ซึ่งเรามักพบสารบีพีเออยู่ในบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารแบบพลาสติก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย และยังช่วยลดความเครียดได้ด้วย
- ลดการดื่มแอลกอฮอลล์และสูบบุหรี่
จะเห็นได้ว่าการดูแลตัวเองเบื้องต้น ที่ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกาย เป็นวิธีการดูแลตัวเองพื้นฐาน ที่หลายๆคนทราบกันดีอยู่แล้ว เนื่องจากหากเรามีสุขภาพที่ดี ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายดีไปด้วย
สรุป ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ สงผลต่อคุณผู้ชายอย่างไร
ฮอร์โมนเพศที่ต่ำลง (Hypogonadism) เป็นสาเหตุของหลายๆอาการ ที่คุณอาจเป็นอยู่โดยไม่รู้ตัว และรวมถึงอาการนกเขาไม่ขันด้วย การรักษาที่ดีที่สุดคือการดูแลตัวเอง และตรวจระดับฮอร์โมนเพศเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติของร่างกาย และเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่อาการของผลข้างเคียงจะเพิ่มมากขึ้นจนยากที่จะรักษา สามารถปรึกษาการเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนกับหมอเบียร์ได้ที่ Line ; @eternityclinic4 หรือดูข้อมูลบริการเพิ่มเติม คลิก
ฝังมุกกับหมอเบียร์ ดีกว่าที่อื่นอย่างไร
ถ้าพูดถึงเรื่อง
ฝังมุก ทำให้ผู้หญิงเสียวขึ้นจริงไหม
หลายคนคงทราบกัน
ฝังมุกแล้ว เอามุกออกได้ไหม
ฝังมุกนั้น ไม่เ