รักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องผ่าตัด ESWL

ผ่าตัดeswl

โรคที่เราพบได้บ่อยในผู้ชายถึง 1 ใน 5 และในผู้หญิง 1 ใน 10 หรือโรคนิ่วในไต ปัจจุบันสามารถ “รักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องผ่าตัด” ได้แล้ว ซึ่งนิ่วในไต (Kidney Stone) คือ โรคที่เกิดจากมีการตกตะกอน ของหินปูน เกลือแร่ต่างๆ ในปัสสาวะ หรือมีสาร แคลเซียม ออกซาเลต ซีสตีน หรือกรดยูริคที่สูงปะปนอยู่ในปัสสาวะ จนกลายเป็นก้อนแข็งคล้ายก้อนกรวด มักพับที่ไตบริเวณกรวยไตและบริเวณทางเดินปัสสาวะ อาการของโรคนิ่ว ปวดบริเวณข้างลำตัว หรือหลัง รุนแรงเป็นช่วงๆ ปัสสาวะขุ่นแดง ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะไม่ออก คลื่นไส้อาเจียน เราไปดูกันดีกว่าว่า อาการของโรคนิ่วในไต มีข้อบ่งชี้อะไรบ้าง

อาการของนิ่ว

อาการที่บ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นนิ่วในไต

ก้อนนิ่ว สามารถสะสมอยู่ในร่างกายของเราได้หลายปี โดยแสดงอาการอะไรเลย อาจตรวจพบก้อนนิ่วได้จากการตรวจโรคอื่นๆ หากร่างกายของเรามีการขับก้อนนิ่วออกผ่านระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้แสดงอาการได้ ดังนี้

  • มีอาการปวด เมื่อก้อนนิ่วไปอุดตันที่บริเวณทางเดินปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยสามารถปวดเล็กน้อย ไปจนถึงปวดมาก ซึ่งอาการปวดจะเริ่มจากด้านข้างหรือหน้าท้องส่วนล่าง อาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาปัสสาวะ และไม่หายไปเองจนกว่าจะเข้ารับการรักษา
  • ปัสสาวะเป็นเลือด มีสีชมพูหรือแดง หรืออาจจะมองไม่เห็นแต่สามารถตรวจพบได้จากการส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
  • เมื่อปัสสาวะจะมีเศษเล็กๆคล้ายก้อนกรวดหลุดออกมาด้วย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย

สาเหตุการเกิดโรค

สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในไต

  • มีโรคประจำตัวในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มีภาวะน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • ดื่มน้ำน้อยกว่าปริมาณที่ควรดื่มต่อวัน (สูตรคำนวณง่ายๆ การดื่มน้ำตามน้ำหนักตัว โดยใช้น้ำหนักตัว (Kg) * 2.2 * 30 หารด้วย 2 จะได้ออกมาเป็นปริมาณน้ำที่เราควรดื่มต่อวัน)
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากโรคเกาต์
  • โรคเบาหวาน
  • โรคโครห์น (Crohn’s disease)
  • กินอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์ / เกลือ / น้ำตาล (ซูโครส ฟรุกโตส) สูงเกินไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่ว
  • มีภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ

การรักษา

วิธีการรักษา

  1. กรณีที่นิ่วก้อนเล็กมาก ๆ สามารถดื่มน้ำมาก ๆ ให้นิ่วหลุดออกมาเองตามธรรมชาติได้ หรืออาจจะใช้ยาบรรเทาปวด หรือ ยาขับก้อนนิ่วควบคู่กันไป
  2. การใช้เครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL)
  3. การส่องกล้องสลายนิ่ว (Ureteroscopy)
  4. การรักษาแบบผ่าตัด (Percutanrous Nephrolithotomy : PCNL)

*** ในที่นี้เราจะกล่าวถึงวิธีที่สอง การใช้เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) เป็นหลัก
เครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษที่มีการนำคลื่นเสียงความถี่สูง (Supersonic Speed) กระแทกก้อนนิ่วให้แตกเป็นผงหรือเม็ดเล็ก ๆ แล้วขับออกจากร่างกายโดยระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดจากการรักษาน้อยกว่าวิธีการผ่าตัด ไม่มีอาการแทรกซ้อน ไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน

 

การเตรียมตัวเพื่อไปรับการสลายนิ่ว

  • ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เข้ารับการตรวจเป็นระยะ และรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะแน่ใจว่านิ่วสลายออกไปหมดแล้ว

หลังการรักษา

การปฏิบัติตัวหลังจากการ รักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องผ่าตัด

  • วันแรกอาจจะเกิดอาการปวด ควรรับประทานยาที่แพทย์จัดให้ อาการจะทุเลาลง อาจจะมีอาการปัสสาวะแดง ควรนอนพักและดื่มน้ำให้มาก อาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน
  • งดทำงานหรือ ออกกำลังกายหนัก ในเวลา 1-2 วัน
  • ดื่มน้ำมาก ๆ โดยประมาณ 3- 4 ลิตรต่อวัน เพื่อให้น้ำช่วยพาเศษนิ่วที่แตกให้หลุดออกมาได้เร็วขึ้นหลังการรักษาควรออกกำลังกายเป็นประจำ และสังเกตว่ามีเศษนิ่วหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะบ้างหรือไม่

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษา

  • ขนาดของนิ่ว ถ้านิ่ว มีขนาดใหญ่เกินกว่า 2 ซม. หรือ มีหลายก้อน อาจจะต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจึงจะประสบผลสำเร็จ
  • ความแข็งของนิ่ว ถ้านิ่วมีองค์ประกอบที่แข็งมากอาจจะต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือต้องใช้พลังงานระดับสูงขึ้น อาจจะเพิ่มความเจ็บปวดได้
  • การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
  • ความผิดปกติของกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดนิ่วในไต ผ่าตัดท่อไต อาจทำให้นิ่วที่แตกแล้วไม่สามารถหลุดออกมาได้ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องหยุดการสลายนิ่ว

การรักษา

ข้อดีของการ รักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องผ่าตัด (ESWL)

  • ไม่ต้องใส่เครื่องมือเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ เพราะเมื่อนิ่งโดนคลื่นที่ส่งเข้าไปจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ แหละหลุดมากับปัสสาวะเอง
  • ไม่ต้องพักรักษาตัวนาน พักฟื้นหลังทำเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถกลับบ้าน ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

 

สรุปการ รักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษานิ่วด้วยวิธีนี้ จะสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด เพียงส่งคลื่นกระแทกเข้าไปช่วยสลายนิ่วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรักษาไปแล้วก็อาจทำให้กลับมาเป็นใหม่ได้ หากเรายังไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ควรดื่มน้ำเยอะๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อลดการเกิดนิ่ว รวมถึงโรคอื่นๆด้วย หากใครที่มีปัญหาหรือมีอาการที่มีข้อบ่งชี้ว่าอาจเป็นนิ่วในไต สามารถปรึกษาหมอเบียร์ได้ที่ Line หรือ Website ของคลินิกได้เลย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *